ชั้นดิน

5454 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชั้นดิน

ช่วงชั้นดิน (อังกฤษ: Soil horizon) หมายถึง ชั้นดินที่แบ่งออกเป็นชั้น ๆ ตามสมบัติและลักษณะเพื่อประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของดิน และการกำเนิดของดิน ในทางปฐพีวิทยา
ดินชั้นต่าง ๆ
นิยมแบ่งออกเป็น 5 ชั้นคือ
O-Horizon
ชั้นโอ เป็นช่วงชั้นดินอินทรีย์ (Organic soil horizon) ปกติแล้วจะมีปริมาณอินทรีย์วัตถุมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป แบ่งย่อยออกเป็น ชั้นโอหนึ่ง อินทรียวัตุส่วนใหญ่ยังมิได้มีการสลายตัว และ ชั้นโอสอง อินทรียวัตถุส่วนใหญ่มีการสลายตัวแล้ว
A-Horizon
ชั้นเอ เป็นช่วงชั้นดินแร่ (Mineral soil horizon) ปกติแล้วจะมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่าร้อยละ 20 แบ่งย่อยออกเป็น ชั้นเอหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นชั้นที่เกิดที่ผิวดินหรือใกล้ผิวดิน ประกอบด้วยอินทรียวัตถุที่มีการสลายตัวปะปนอยู่ มีสีคล้ำกว่าชั้นดินข้างล่างถัดไป ชั้นเอสอง เป็นชั้นที่มีการสูญเสียอนุภาคดินเหนียว (Clay) เหล็ก อะลูมิเนียม เป็นผลให้ปริมาณของควอรตซ์ และแร่ต่างๆที่มีความทนทานต่อการสลายตัว ขนาดอนุภาคทราย (Sand) และทรายแป้ง (Silt) ตกค้างอยู่ในปริมาณสูง ในชั้นนี้จะมีสีจางกว่าชั้นใกล้เคียง และ ชั้นเอสาม เป็นชั้นเชื่อมต่อระหว่างชั้นเอกับชั้นบี แต่มีลักษณะส่วนใหญ่ค่อนไปทางชั้นเอ
B-Horizon
ชั้นบี เป็นช่วงชั้นดินแร่ ปกติแล้วจะอยู่ถัดชั้นเอลงไป และมีการสะสมของสารที่ถูกชะล้างลงมาจากชั้นเอสอง หรือมีเหล็กและอะลูมิเนียมออกไซด์เคลือบอยู่ อะลูมิเนียมออกไซด์ทำให้เกิดสีเข้มกว่าหรือแดงกว่าชั้นที่อยู่ข้างบนหรือข้างล่างถัดไป แบ่งย่อยออกเป็น ชั้นบีหนึ่ง เป็นชั้นเชื่อมต่อระหว่างชั้นเอกับชั้นบี แต่มีลักษณะส่วนใหญ่ค่อนไปทางชั้นบี ชั้นบีสอง เป็นชั้นบีที่ไม่มีลักษณะของชั้นเอหรือชั้นซีปนอยู่เลย และ ชั้นบีสาม เป็นชั้นเชื่อมต่อระหว่างชั้นบีกับชั้นซี แต่มีลักษณะส่วนใหญ่ค่อนไปทางชั้นบี
C-Horizon
ชั้นซี เป็นช่วงชั้นดินที่ไม่สามารถจัดอยู่ในชั้นเอหรือชั้นบีได้ เช่น ชั้นหินผุ หรือเป็นชั้นที่มีการสะสมของแร่แคลเซียมคาร์บอเนต (ชั้นดินมาร์ล)
R-Horizon
ชั้นอาร์ เป็นช่วงชั้นดินดานแข็ง ยังไม่มีการผุพังสลายตัว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้